พระราชประวัติ ของ พระเจ้าเกาฑิณยะชัยวรมันที่ 3

ในรัชสมัยของพระองค์บ้านเมืองมีความสงบสุขและเปิดกว้างในการนับถือศาสนาโดยเอกสารฝ่ายจีนระบุว่าในอาณาจักรทางภาคใต้มีกษัตริย์พระนามว่า เกาณฑินยะชัยวรมัน ทรงนับถือศาสนาพราหมณ์ภายหลังทรงศรัทธาในพุทธศาสนาในรัชสมัยนี้ได้มีพระภิกษุชาวอินเดียรูปหนึ่งชื่อพระนาคาหรือ พระนาคเสน ได้เดินทางไปยังเมืองจีนได้แวะที่ฟูนานก่อนและได้ทูลพระเจ้ากรุงจีนว่าฟูนานนับถือศาสนาฮินดูนิกายไศวะนิกายแต่พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมีภิกษุสามเณรมากและสมัยนี้ได้มีพระภิกษุชาวฟูนานชื่อ สังฆปาละ เป็นผู้เชี่ยวชาญในพระอภิธรรมได้เดินทางไปสู่ประเทศจีน และได้ศึกษาเพิ่มเติมจากพระภิกษุอินเดียชื่อคุณภัทรมีความแตกฉานในพุทธศาสนาเป็นที่เคารพศรัทธาของพระเจ้าจักรพรรดิบู่ตี่ของจีน[1] พระองค์ได้ผูกไมตรีกับจีนโดยการถวายราชบรรณาการไปยังเมืองจีนอีกด้วยแต่ช่วงปลายรัชกาลได้เกิดความวุ่นวายเนื่องจาก พระเจ้ารุทรวรมัน โอรสที่เกิดจากพระสนมได้ซ่องสุมกองกำลังขณะที่พระองค์ทรงประชวรหนักเมื่อพระองค์สวรรคตแล้วพระเจ้ารุทรวรมันได้นำกองกำลังเข้าชิงราชสมบัติทรงสังหารพระรัชทายาทคือ เจ้าชายกุณณะวรมัน โอรสที่ประสูติจากพระอัครมเหสีคือพระนางกุลประภาวดี ต่อมาทรงทำสงครามกับพระนางกุลประภาวดีเพื่ออ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ พระเจ้ารุทรวรมัน ทรงมีชัยชนะและขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฟูนานในที่สุด[2][3]